พืชสวน เป็นกลุ่มพืชที่มีความสำคัญต่อมนุษย์อย่างมาก ในเรื่องของอาหาร การบำบัดทางสภาพจิตใจ การขับเคลื่อนของธุรกิจเกษตร แต่ในปัจจุบันศักยภาพของผลิตผลพืชสวนในประเทศยังไม่ดีพอที่จะแข่งขันกับต่างประเทศทั้งในเรื่อง พันธุ์ เทคโนโลยีการผลิต และการจัดการ ปัญหาเหล่าเหล่านี้ต้องได้รับการแก้ไขอย่างชาญฉลาด เพราะประเทศของเราได้เปิดการค้าเสรีกับหลายประเทศซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรของไทยอย่างมากในอนาคต

ภาควิชาพืชสวนทราบในปัญหานี้ดี จึงมุ่งเน้นที่จะพัฒนาการเรียนการสอน และการวิจัยให้สอดคล้องกับสภาพการแข่งขันในปัจจุบัน ทั้งด้านการจัดการด้านการผลิต และเทคโนโลยี เพื่อลดขีดจำกัด และเพิ่มศักยภาพของผลิตผล เพื่อเผยแพร่ความรู้สู่เกษตรกรผู้ผลิต และผู้เกี่ยวข้องกับงานทางด้านพืชสวน อีกทั้งยังมุ่งพัฒนาเพิ่มศักยภาพความสามารถของบัณฑิตให้มีความรู้ขั้นสูงทางด้านพืชสวน และเป็นนักวิจัยหน้าใหม่เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาให้แก่เกษตรกรผู้ผลิต และผู้บริโภคในอนาคตต่อไป โดยได้จำแนกสาขาการศึกษาและวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษาออกเป็น 5 สาขาได้แก่

  1. สาขาการปรับปรุงพันธุ์พืช และเทคโนโลยีชีวภาพ
    ศึกษา และวิจัยเน้นเกี่ยวกับการพัฒนาพืชพันธุ์ใหม่ การปรับปรุงพันธุ์ การรวบรวมเชื้อพันธุกรรม การชักนำการกลายพันธุ์ พันธุวิศวกรรมพืชสวนระดับของโมเลกุล และระดับเซลล์ ในผัก ไม้ผล และสมุนไพร รวมถึงการใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
  2. สาขาสรีรวิทยาการผลิต
    ศึกษา และวิจัยเน้นด้านสรีรวิทยาในการเจริญเติบโตของพืชสวนที่มีศักยภาพ ในการตอบสนองต่อปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อม การเขตกรรม ธาตุอาหาร น้ำ สารควบคุมการเจริญเติบโต และกระบวนการทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นในพืช รวมถึงการประยุกต์ใช้ รวมถึงการขยายพันธุ์พืชสวน
  3. สาขาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
    ศึกษาและวิจัยเน้นด้านสรีรวิทยา และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับผลิตผลก่อน และหลังการเก็บเกี่ยว ที่ส่งผลต่อคุณภาพของผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว รวมถึงวิธีการจัดการกับผลิตผล และเทคโนโลยี เพื่อยืดอายุการวางจำหน่าย และคงคุณภาพของผลิตผลให้ได้นาน
  4. สาขาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของเมล็ดพันธุ์
    ศึกษาและวิจัยเน้นทางด้านกระบวนการทางสรีรวิทยาของเมล็ดพันธุ์ และเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับเมล็ดพันธุ์ รวมถึงเทคนิคการเก็บรักษา และการตรวจสอบคุณภาพ
  5. สาขาพืชสวนเพื่อสภาพแวดล้อม

ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา ภาควิชาพืชสวน มีหน่วยงานเข้ามาอยู่ในกำกับดูแลเพิ่มเติมอีก 3 หน่วยงาน ได้แก่

1. ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน

 

2. ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน

ความเป็นมา

ตามแผนการใช้ที่ดินของวิทยาเขตกำแพงแสน ได้กำหนดให้พื้นที่ฝั่งตรงข้ามทางด้านข้างของศูนย์ปฏิบัติการและเรือนปลูกพืชทดลอง จำนวน 27 ไร่ และต่อมาได้ขยายเป็น 35 ไร่ โดยมอบให้ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างเป็นศูนย์ไม้ผลเขตร้อนขึ้นเมื่อปี 2524 ได้มีการออกแบบแผนผังสวนและดำเนินการปรับปรุงพื้นที่พร้อมกับปลูกต้นไม้ผลบางชนิดไว้แล้วจำนวนหนึ่ง แต่ขาดงบประมาณในการดำเนินการ ต่อมาในปี 2533 ได้มีการนำมาทบทวนใหม่โดยรองอธิการบดีประจำวิทยาเขตกำแพงแสน พร้อมกับพัฒนาขึ้นมาเป็นลักษณะของสวนพฤกษศาสตร์ทางไม้ผลเขตร้อน เพื่อให้ทันกับวันที่ 12 สิงหาคม 2533 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสทรงมีพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์ไม้ผล เขตร้อนเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา” (Tropical Fruit Garden in Honour of H.M Queen Sirikit on Her Magesty’s Sixtieth Birthday Anni-versary) พร้อมกับได้รับการบรรจุเข้าไว้ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 7 ( 2535-2539 ) ในความดูแลของศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

วัตถุประสงค์

เป้าหมายหลักของศูนย์ฯ คือ ศึกษาและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไม้ผลเขตร้อนในด้านเทคโนโลยีสาขาพันธุศาสตร์ การปรับปรุงพันธุ์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการพัฒนาพันธุ์ไม้ผลเขตร้อนชนิดต่างๆ ระบบการจัดการและเศรษฐศาสตร์การผลิต เทคโนโลยีการผลิต เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยว เทคโนโลยีการขยายพันธุ์ และเกษตรอุตสาหกรรม โดยเน้นศึกษาไม้ผลที่มีศักยภาพในเชิงการค้าสูง คือ ส้มโอ ส้มเปลือกร่อน ทุเรียน มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ มะละกอ องุ่น มะขาม มะนาว กล้วย สับปะรด ลองกอง เงาะ หมาก มะพร้าว โกโก้ เป็นต้น

3. ศูนย์เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว