การผลิตใบมะกรูดเชิงการค้า

รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี, สามารถ เศรษฐวิทยา และ สุขะวัฒน์ ทองเหลี่ยว

 ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140 โทร. 034-351-934 โทรสาร 034-351-934  

 เทคโนโลยีการผลิตใบมะกรูด

                ไม้ยืนต้นตระกูลส้ม รวมถึงมะกรูดนั้น มีการเติบโตด้านกิ่งใบ (vegetative growth) สร้างใบ กิ่งก้าน ลำต้น และราก กับการเติบโตด้านสืบพันธุ์ (reproductive growth) สร้างดอก ผล และเมล็ด แยกกันอย่างชัดเจน หากมีการเติบโตด้านหนึ่งมาก การเติบโตอีกด้านหนึ่งก็จะลดลง การผลิตใบมะกรูดมุ่งไปที่การเติบโตด้านกิ่งใบ เป็นหลัก แต่ไม่เน้นการผลิตผลมะกรูด โดยอาศัยการตัดแต่งกิ่ง ร่วมกับการจัดการอื่นๆ เพื่อกระตุ้นให้มีการผลิตา และส่งเสริมการเติบโตทางกิ่งใบ ซึ่งมีสิ่งที่ควรคำนึงถึงดังนี้

  1. พื้นที่ปลูก ต้องมีการระบายน้ำดี น้ำไม่ท่วมขัง มีระดับความเป็นกรด-ด่าง (pH) ในช่วง 5.5 - 7.0 มีอินทรียวัตถุสูง หรือปรับแต่งโดยการใช้ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยพืชสด เสริม ควรมีการไถพรวนพื้นที่ก่อนเพื่อช่วยไม่ให้ดินแน่นทึบ การปลูกในโรงเรือนมุ้งตาข่ายขนาดความถี่ช่อง 20 เมช (Mesh; 20 ช่องต่อนิ้ว) ช่วยลดปัญหาของแมลงศัตรูพืชขนาดใหญ่ได้มาก
  2. การเตรียมแปลงปลูก และระยะปลูก ขนาดของแปลงปลูกที่เหมาะสม ควรมีความกว้าง 1 เมตร ยกระดับความสูงประมาณ 20 - 25 ซม. จากผิวดิน มีทางเดินระหว่างแปลงกว้าง 50 ซม. ปลูกแบบแถวคู่ สลับฟันปลา ใช้ระยะระหว่างต้น 50 ซม. และระยะระหว่างแถว 50 ซม. (ภาพที่ 1) ในพื้นที่ 1 งาน (20 x 20 ม. หรือ 400 ตารางเมตร) มีแปลงปลูกหน้ากว้าง 1 เมตร ยาว 18 เมตร จำนวน 18 แปลง แต่ละแปลงปลูกได้ 72 ต้น รวมจำนวนต้นมะกรูดทั้งหมด 1,296 ต้น         

                ไม่มีความจำเป็นที่จะใช้ระยะปลูกที่ห่างกว่า เนื่องจากการผลิตใบมะกรูดนั้น มีการตัดแต่งกิ่ง เพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งเท่ากับเป็นการควบคุมขนาดพุ่มต้นไปพร้อมกันอยู่แล้ว

 

ภาพที่ 1 ขนาดแปลง และระยะปลูก

  1. กิ่งพันธุ์  สามารถใช้ต้นพันธุ์ที่ขยายจากการเพาะเมล็ด กิ่งปักชำ หรือกิ่งตอน แต่ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ด มักมีการเติบโตที่ช้ากว่าในช่วงระยะแรก ต้นพันธุ์ที่พร้อมปลูกลงแปลงควรมีอายุ 1-2 เดือน มีระบบรากที่ดี ไม่ม้วนวนเนื่องจากอยู่ในถุงปลูกนานเกินไป และที่สำคัญคือ จะต้องปลอดจากโรคแคงเกอร์ส้ม (citrus canker) โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Xanthomonas campestris pv. citri (Hasse) Dye ซึ่งเป็นข้อจำกัดหลักที่ทำให้เราไม่สามารถส่งออกใบมะกรูดไปยังกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปได้

                การกำจัดโรคนี้ทำได้ยาก  เมื่อมีการแพร่ระบาดเข้าไปในแปลงปลูกแล้ว ดังนั้นจึงควรป้องกันตั้งแต่เริ่มแรก โดยใช้วิธีการคัดเลือกกิ่ง และตัดแต่งกิ่ง/ใบ ส่วนที่เป็นโรคออกแล้วนำไปเผาไฟ จากนั้นนำกิ่งพันธุ์ไปแช่ในสารปฏิชีวนะ เช่น สเตร็ปโตมัยซิน (Streptomycin) ความเข้มข้น 500 พีพีเอ็ม เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ก่อนนำไปปลูก หรือ แช่ในสารชีวภัณฑ์ ไตรโคเดอร์มา ชนิดน้ำ ที่ผสมในอัตรา 1 ลิตรต่อน้ำ 100 ลิตร เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ก่อนนำไปปลูก

  1. การจัดการแปลง แนะนำให้ใช้ผ้าพลาสติก หรือใช้ฟางข้าวคลุมแปลงปลูก เพื่อป้องกันวัชพืชและช่วยรักษาความชื้นในดิน
  2. ระบบน้ำ ในกรณีที่ใช้ผ้าพลาสติกคลุมแปลงปลูก แนะนำให้ใช้ระบบน้ำหยด ที่สามารถจ่ายปุ๋ยไปพร้อมกับการให้น้ำ (fertigation) ส่วนแปลงที่ไม่ได้ใช้ผ้าพลาสติกคลุม สามารถเลือกให้น้ำด้วยระบบต่างๆ ที่มีอยู่ตามความเหมาะสม
  3. การให้ปุ๋ย ในการผลิตใบมะกรูดนั้น มีนำเอาธาตุอาหารออกไปจากดินอย่างต่อเนื่อง โดยติดไปกับผลผลิตที่เก็บเกี่ยวออกพื้นที่ จึงจำเป็นต้องให้ปุ๋ยกลับคืน เพื่อชดเชยระดับธาตุอาหารในดินให้เหมาะสม ปุ๋ยที่ใช้ควรมีสัดส่วนของธาตุอาหาร N-P-K ประมาณ 5 : 1 : 3 หรือ 5 : 1 : 4 หรือใกล้เคียงกัน เช่น ปุ๋ยทางดินสูตร 21-7-14, 20-4-16 (ใช้ปุ๋ย 15-5-20 ผสมกับ 46-0-0 อัตรา 4 ต่อ 1)  อัตรา 5 กรัมต่อต้น หรือให้ไปกับระบบน้ำ ทุก 20-30 วัน ปุ๋ยทางใบ สูตร 24-9-19, 18-6-12 พ่นทุก 7-14 วัน ส่วนธาตุอาหารอื่นๆ ก็จำเป็นต้องเสริมให้หลังแตกใบอ่อนเป็นระยะซึ่งมีอยู่ในปุ๋ยทางใบ
  4. การป้องกันกำจัดศัตรูพืช นอกจากโรคแคงเกอร์แล้ว ไม่พบว่ามีโรคอื่นๆ ที่สร้างความเสียหายรุนแรง ส่วนแมลงศัตรูพืชที่สำคัญได้แก่ เพลี้ยไฟ หนอนชอนใบ เพลี้ยอ่อน และเพลี้ยแป้ง ซึ่งสามารถพ่นสารป้องกันกำจัดแมลง เช่น อาบาเม็กติน ไซเปอร์เมทริน อิมิดาคลอพริด ฟิโปรนิล หรือไดโนทีฟูแรนโดยแนะนำให้พ่นที่ 1, 4 และ7 วันหลังแตกยอด (ระยะเขี้ยวงู) ตามอัตราที่แนะนำในฉลาก การปลูกในโรงเรือนมุ้งตาข่ายสามารถป้องกันหนอนชอนใบและแมลงศัตรูอื่นๆ ได้ดีในระดับหนึ่ง
  5. การตั้งทรงพุ่ม หลังย้ายปลูกลงแปลงประมาณ 4 - 6 เดือน ตัดแต่งปลายยอดออก ที่ระดับความสูง 60 -80 ซม. จากผิวดิน ตัดกิ่งแขนงออก ให้ลำต้นส่วนล่างนี้ เป็นลำเดี่ยว เรียกว่า หน้าแข้ง ภายหลังการตัดแต่ง ตาจะเริ่มผลิและยืดออกเป็นยอดใหม่ เลือกยอดใหม่ที่แข็งแรงและเติบโตพุ่มขึ้นไว้ 2 – 3 ยอด กระจายห่างกัน ยอดที่อยู่ในแนวตั้งฉาก หรือเกือบตั้งฉากกับพื้นจะเติบโตได้ดี มีใบใหญ่จำนวนมากกว่า เมื่อเทียบกับกิ่งที่เอนขนานกับพื้น 1 ต้นมียอดที่จะตัดเก็บเกี่ยวได้ 6 ยอด นี่คือโครงสร้างของพุ่มต้นมะกรูดที่จะรักษาไว้ (ภาพที่ 2)

ภาพที่ 2 โครงสร้างของพุ่มต้นมะกรูดเพื่อการตัดใบ

  1. การเก็บเกี่ยวผลผลิต หลังตัดกิ่งแล้ว 7 วันจะเริ่มแตกตา ยอดใหม่มีการเติบโตยืดตัว ใบเริ่มคลี่สุดประมาณ 30 วัน และใบพร้อมเก็บเกี่ยวได้หลังตัดแต่งกิ่งแล้ว 45-60 วัน โดยตัดลึกให้เหลือตอละ 2 ตา จะได้น้ำหนักผลผลิต 300-500 กรัมต่อต้น หรืออย่างน้อย 1.5 ตันต่อไร่ต่อรอบ ซึ่งในรอบปีจะให้ผลผลิตได้ 6 รอบ

     นับตั้งแต่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 2กุมภาพันธ์ พ.ศ.2486 หลังจากนั้นไม่นานก็ได้มีการสอนวิชาที่เกี่ยวข้องกับพืชสวนขึ้น วิชาพืชสวนที่มีการสอนอยู่ในสมัยนั้นยังรวมอยู่ในวิชาต่างๆ ของแผนกวิชาเกษตรศาสตร์ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2500จึงได้รวบรวมวิชาทางพืชสวนเข้ามาไว้ในแผนกพืชกรรม สังกัดแผนกวิชาเกษตรศาสตร์ ต่อมาในปี พ.ศ.2508 ได้มีการตั้งแผนกวิชาพืชศาสตร์ โดยรวมงานที่เกี่ยวกับพืชสวนและพืชไร่เข้าไว้ในแผนกนี้ และมีฐานะเป็นหมวดวิชา สังกัดอยู่ในคณะกสิกรรมและสัตวบาล และเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2518 มีประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาตั้งภาควิชาพืชสวนขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยให้สังกัดอยู่กับคณะเกษตรซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจากคณะกสิกรรมและสัตวบาล ในปี พ.ศ.2522 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ขยายงานบางส่วนของคณะเกษตร รวมถึงการเคลื่อนย้ายนิสิตบางส่วนมาศึกษาที่วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม งานบางส่วนของภาควิชาพืชสวนจึงมีการเคลื่อนย้ายไปด้วย และในปัจจุบันนี้ภาควิชาพืชสวน ได้สังกัดอยู่ในคณะเกษตร กำแพงแสน ซึ่งได้รับการสถาปนาเป็นคณะใหม่แยกจากคณะเกษตร ที่วิทยาเขตบางเขน  เมื่อวันที่  18  มีนาคม พ.ศ. 2546

พืชสวน เป็นกลุ่มพืชที่มีความสำคัญต่อมนุษย์อย่างมาก ในเรื่องของอาหาร การบำบัดทางสภาพจิตใจ การขับเคลื่อนของธุรกิจเกษตร แต่ในปัจจุบันศักยภาพของผลิตผลพืชสวนในประเทศยังไม่ดีพอที่จะแข่งขันกับต่างประเทศทั้งในเรื่อง พันธุ์ เทคโนโลยีการผลิต และการจัดการ ปัญหาเหล่าเหล่านี้ต้องได้รับการแก้ไขอย่างชาญฉลาด เพราะประเทศของเราได้เปิดการค้าเสรีกับหลายประเทศซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรของไทยอย่างมากในอนาคต

ภาควิชาพืชสวนทราบในปัญหานี้ดี จึงมุ่งเน้นที่จะพัฒนาการเรียนการสอน และการวิจัยให้สอดคล้องกับสภาพการแข่งขันในปัจจุบัน ทั้งด้านการจัดการด้านการผลิต และเทคโนโลยี เพื่อลดขีดจำกัด และเพิ่มศักยภาพของผลิตผล เพื่อเผยแพร่ความรู้สู่เกษตรกรผู้ผลิต และผู้เกี่ยวข้องกับงานทางด้านพืชสวน อีกทั้งยังมุ่งพัฒนาเพิ่มศักยภาพความสามารถของบัณฑิตให้มีความรู้ขั้นสูงทางด้านพืชสวน และเป็นนักวิจัยหน้าใหม่เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาให้แก่เกษตรกรผู้ผลิต และผู้บริโภคในอนาคตต่อไป โดยได้จำแนกสาขาการศึกษาและวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษาออกเป็น 5 สาขาได้แก่

  1. สาขาการปรับปรุงพันธุ์พืช และเทคโนโลยีชีวภาพ
    ศึกษา และวิจัยเน้นเกี่ยวกับการพัฒนาพืชพันธุ์ใหม่ การปรับปรุงพันธุ์ การรวบรวมเชื้อพันธุกรรม การชักนำการกลายพันธุ์ พันธุวิศวกรรมพืชสวนระดับของโมเลกุล และระดับเซลล์ ในผัก ไม้ผล และสมุนไพร รวมถึงการใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
  2. สาขาสรีรวิทยาการผลิต
    ศึกษา และวิจัยเน้นด้านสรีรวิทยาในการเจริญเติบโตของพืชสวนที่มีศักยภาพ ในการตอบสนองต่อปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อม การเขตกรรม ธาตุอาหาร น้ำ สารควบคุมการเจริญเติบโต และกระบวนการทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นในพืช รวมถึงการประยุกต์ใช้ รวมถึงการขยายพันธุ์พืชสวน
  3. สาขาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
    ศึกษาและวิจัยเน้นด้านสรีรวิทยา และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับผลิตผลก่อน และหลังการเก็บเกี่ยว ที่ส่งผลต่อคุณภาพของผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว รวมถึงวิธีการจัดการกับผลิตผล และเทคโนโลยี เพื่อยืดอายุการวางจำหน่าย และคงคุณภาพของผลิตผลให้ได้นาน
  4. สาขาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของเมล็ดพันธุ์
    ศึกษาและวิจัยเน้นทางด้านกระบวนการทางสรีรวิทยาของเมล็ดพันธุ์ และเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับเมล็ดพันธุ์ รวมถึงเทคนิคการเก็บรักษา และการตรวจสอบคุณภาพ
  5. สาขาพืชสวนเพื่อสภาพแวดล้อม

ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา ภาควิชาพืชสวน มีหน่วยงานเข้ามาอยู่ในกำกับดูแลเพิ่มเติมอีก 3 หน่วยงาน ได้แก่

1. ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน

 

2. ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน

ความเป็นมา

ตามแผนการใช้ที่ดินของวิทยาเขตกำแพงแสน ได้กำหนดให้พื้นที่ฝั่งตรงข้ามทางด้านข้างของศูนย์ปฏิบัติการและเรือนปลูกพืชทดลอง จำนวน 27 ไร่ และต่อมาได้ขยายเป็น 35 ไร่ โดยมอบให้ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างเป็นศูนย์ไม้ผลเขตร้อนขึ้นเมื่อปี 2524 ได้มีการออกแบบแผนผังสวนและดำเนินการปรับปรุงพื้นที่พร้อมกับปลูกต้นไม้ผลบางชนิดไว้แล้วจำนวนหนึ่ง แต่ขาดงบประมาณในการดำเนินการ ต่อมาในปี 2533 ได้มีการนำมาทบทวนใหม่โดยรองอธิการบดีประจำวิทยาเขตกำแพงแสน พร้อมกับพัฒนาขึ้นมาเป็นลักษณะของสวนพฤกษศาสตร์ทางไม้ผลเขตร้อน เพื่อให้ทันกับวันที่ 12 สิงหาคม 2533 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสทรงมีพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์ไม้ผล เขตร้อนเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา” (Tropical Fruit Garden in Honour of H.M Queen Sirikit on Her Magesty’s Sixtieth Birthday Anni-versary) พร้อมกับได้รับการบรรจุเข้าไว้ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 7 ( 2535-2539 ) ในความดูแลของศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

วัตถุประสงค์

เป้าหมายหลักของศูนย์ฯ คือ ศึกษาและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไม้ผลเขตร้อนในด้านเทคโนโลยีสาขาพันธุศาสตร์ การปรับปรุงพันธุ์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการพัฒนาพันธุ์ไม้ผลเขตร้อนชนิดต่างๆ ระบบการจัดการและเศรษฐศาสตร์การผลิต เทคโนโลยีการผลิต เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยว เทคโนโลยีการขยายพันธุ์ และเกษตรอุตสาหกรรม โดยเน้นศึกษาไม้ผลที่มีศักยภาพในเชิงการค้าสูง คือ ส้มโอ ส้มเปลือกร่อน ทุเรียน มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ มะละกอ องุ่น มะขาม มะนาว กล้วย สับปะรด ลองกอง เงาะ หมาก มะพร้าว โกโก้ เป็นต้น

3. ศูนย์เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว

 

 

ภาควิชาพืชสวน  คณะเกษตร กำแพงแสน  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  มีปณิธานมุ่งมั่นในการแสวงหา พัฒนา  และส่งเสริมความรู้ทางด้านพืชสวน  ให้เกิดความเจริญงอกงามและภูมิปัญญาที่เพียบพร้อมด้านวิชาการ   จริยธรรม  และคุณธรรม  ตลอดจนเป็นผู้ชี้นำทิศทาง  เพื่อความเจริญของการพืชสวนไทย

 

 

วิสัยทัศน์

 

           สร้างองค์ความรู้ใหม่  ไขปัญหาปัจจุบัน  ผลักดันอนาคต

 

 

นโยบาย แผนกลยุทธ์/แผนพัฒนา และแผนงานประกันคุณภาพ

 

           ภาควิชาพืชสวน มีการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี โท และ เอก สาขาพืชสวน   เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านพืชสวน  ที่พร้อมด้วยจริยธรรม   มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคม และเป็นผู้นำการเกษตรของประเทศ  ควบคู่กับการสร้างผลงานวิจัย เพื่อพัฒนาการผลิตพืชสวนอย่างมีประสิทธิภาพ  การบริการวิชาการเผยแพร่เทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ให้กับภาครัฐและเอกชน ตลอดจนมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม ภายใต้การบริหารที่มีแบบแผนชัดเจน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะเกษตร กำแพงแสน วิทยาเขต และส่วนภูมิภาค

 

            ภาควิชาพืชสวน  คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  มีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นหน่วยงานหลักของประเทศในการรวบรวม  ศึกษา  และพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพืชสวนให้ทันสมัยในระดับสากล   เพื่อใช้ในการผลิตบัณฑิตด้านพืชสวนให้มีความเป็นเลิศด้านทักษะความชำนาญและวิชาการทางพืชสวน   และเพื่อใช้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกร  และให้บริการทางวิชาการแก่วงการพืชสวนไทย   โดยบัณฑิตของภาควิชาฯ จะต้องพร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรม  เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีในสังคมไทย และเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ

พันธกิจ ภาควิชาพืชสวน วิทยาเขตกำแพงแสน

 

            ภาควิชาพืชสวนมีพันธกิจหลักในการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพืชสวนในทุกรูปแบบแก่นิสิตทุกระดับ   โดยสร้างงานวิจัยและนำองค์ความรู้ที่ได้มาใช้ในการเรียนการสอนควบคู่กันไป  และใช้กิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสร้างและหล่อหลอมสำนึกด้านคุณธรรม  จริยธรรม  เพื่อให้บัณฑิตที่ภาควิชาพืชสวนผลิตเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพและคุณธรรมในการทำงาน ภารกิจหลัก 4 ด้าน

 

การเรียนการสอน

การวิจัย

การบริการวิชาการ

การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

 

แผนการดำเนินการของภาควิชาประกอบด้วย แผนงาน 7 ด้าน

 

ด้านการเรียนการสอน

ด้านกิจกรรมนิสิต

ด้านการวิจัย

ด้านการบริการวิชาการ

ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ด้านบริหารและการจัดการ

ด้านการประกันคุณภาพ

วัตถุประสงค์

 

           ผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญ และสามารถประยุกต์วิชาความรู้ด้านต่างๆ มาใช้ในการผลิตพืชสวนอย่างเหมาะสมต่อการพัฒนาประเทศผลิตบัณฑิตที่มีจริยธรรม คุณธรรม  และมีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับของสังคม และตลาดงาน   เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศทางด้านการเกษตรสร้างผลงานวิจัยที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ และเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา และการประยุกต์ใช้ในการผลิตพืชสวนอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนให้บริการด้านเทคโนโลยีและวิทยาการใหม่ๆ ทางพืชสวน กับภาครัฐและเอกชน สืบสานวัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงามของชาติ  และอนุรักษ์วิถีชีวิตไทยที่ใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืชสวน